top of page

Peptic ulcer

"แผลในกระเพาะอาหาร"

Peptic ulcer เป็นแผลที่ชั้น mucosa ซึ่งพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นจะเป็นแผลลึกขอบคม เรียบ และ ก้นแผลสะอาด อาจจะลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรือลึกกว่านั้น อาจเกิดได้ทั้งในกระเพาะอาหาร duodenum หรือ lower esophagus ส่วนที่พบมากที่สุด คือ กระเพาะอาหาร  เรียกว่า Gastric ulcer  และลำไส้เล็กส่วนต้น เรียกว่า Duodenal ulcer

การเกิดแผลในกระเพาะอาหารเป็นผลจากความไม่สมดุลระหว่างกลไกการป้องกันเยื่อบุ และ การทำลายเนื่องจากกรดและเอนไซม์ pepsin รวมทั้งปัจจัยอื่นๆทั้งสิ่งแวดล้อม และ ภาวะภูมิคุ้มกัน

สาเหตุ

  • ร้อยละ 50 ของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเกิดจากอารมณ์ตึงเครียด 

  • การเปลี่ยนแปลงของ Mucous membrane ที่ทำหน้าที่หลั่งน้ำย่อย และการทำงานมากเกินไป

    • ความต้านทานของเยื่อบุของกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กเปลี่ยนไป เช่น จากการถูกระคายเคืองจากยาบางชนิด  ได้แก่  NSAID, Salicylic  acid, และ Steroid

  • รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานรสจัด เคี้ยวไม่ละเอียด     ดื่มสุรามาก สูบบุหรี่จัด

  • มีการติดเชื้อแบคทีเรีย H.pyroli

  • ภาวะที่ร่างกายทำงานหนักทำให้มีความต้านทานน้อย

ชนิดของแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer)  แบ่งเป็น  2 ชนิด คือ

  1. Acute  gastric ulcer  เป็นแผลเล็ก ๆ ทั่วในชั้น Mucosa มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น รักษาให้หายได้ในระยะสั้นเพราะเป็นแผลเฉียบพลัน ตื้นๆ หลายแผล มีขนาดเล็กไม่เกิน 1 cm ส่วนใหญ่เกิด เนื่องจาก stress จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า stress ulcer

      Acute  gastric ulcerมักจะเกิดตามหลัง ภาวะ shock

      extensive burns หรือ severe trauma (Curling ulcers);

      และ elevated intracranial pressure (Cushing ulcers)

  1. Chronic  gastric  ulcer  เป็นแผลเรื้อรังและกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ  แผลจะหายช้าและมีโอกาสเป็นแผลเป็นได้

   *ส่วน Duodenal  ulcer  แผลมักจะกินลึกถึงชั้น  Serous membrane  เป็นเรื้อรังรักษาทางยาไม่หายขาด

ชนิดของแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer)  แบ่งเป็น  2 ชนิด คือ

  1. Acute  gastric ulcer  เป็นแผลเล็ก ๆ ทั่วในชั้น Mucosa มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น รักษาให้หายได้ในระยะสั้น 

  2. Chronic  gastric  ulcer  เป็นแผลเรื้อรังและกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ  แผลจะหายช้าและมีโอกาสเป็นแผลเป็นได้

   ส่วน Duodenal  ulcer  แผลมักจะกินลึกถึงชั้น  Serous membrane  เป็นเรื้อรังรักษาทางยาไม่หายขาด

Sign & Symptom

  • ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ลักษณะปวดไม่กว้าง สามารถชี้ด้วยนิ้วเดียว และอาการปวดจะสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร

  • เมื่อแผลถูกสัมผัสกับกรดและน้ำย่อย จะทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณ Epigastrium และอาจจะมีอาการปวดแบบตื้อๆ และแน่นท้อง

  • Gastric ulcer จะปวดเวลาที่หิว  ถ้ารับประทานอาหารลงไปจะหายปวด  เพราะน้ำย่อยในกระเพาะมีอาหารไปคลุกเคล้า    หลังจากรับประทานอาหารเข้าไปประมาณ 1 ½ ชั่วโมง  จะมีอาการปวดอีกเพราะน้ำย่อยเข้าไปสัมผัสกับแผลโดยตรง

  • Duodenal ulcer จะเกิดขึ้นภายหลังรับประทานอาหารประมาณ 2-2 ½  ชั่วโมง  เพราะระยะนี้กระเพาะอาหารและลำไส้ว่าง  น้ำย่อยและกรดจึงถูกกับแผล เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปอาการเจ็บปวดจะหายไป  อาการปวดมักจะพบตอนเช้ามืด

การรักษา Peptic ulcer ด้วยยา

bottom of page