Police Nursing College
วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
Pathophysiology Of Gastrointestinal System
For Student Nurses
ร.ต.อ.อภิสิทธิ์ ตามสัตย์
E-mail: log31643@yahoo.com
Gastroesophageal reflux disease (GERD)
“ภาวะกรดไหลย้อน”
สาเหตุ
เกิดจากสารคัดหลั่งจากกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งอาจเป็นกรด กรดอ่อน ด่าง หรือแก๊ส ไหลย้อนจากกระเพาะอาหารเข้ามาในหลอดอาหาร แล้วทำให้เกิดอาการ เช่น อาการแสบร้อนหน้าอกหรือเรอเปรี้ยว (Heartburn) โดยอาจทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุหลอดอาหาร ( reflux esophagitis) หรือไม่มีการอักเสบของหลอดอาหารก็ได้
Pathophysiology of GERD
GERD เกิดจากหูรูดบนหรือล่างหย่อนยานปิดไม่มิด หลอดอาหารไม่บีบหรือรูดลงเพราะประสาทของหูรูดเสีย อันเกิดจากโรคบางอย่าง หรือหลอดอาหารแข็งตัวไม่ยืดหยุ่น หรือเกิดจากการที่หลอดอาหารอักเสบบ่อยๆ เพราะอาหารในกระเพาะมีการสำรอกขึ้นมาผ่านหลอดอาหารทำให้เกิดแผลเป็นๆ หายๆ เมื่อแผลหายแล้วก็ทำให้หลอดอาหารเกิดเป็น scar แข็งเป็นแผลหลายๆแห่ง อาจจะมีโอกาสแตกได้ หรือที่เรียกว่า Barrett's Esophagus ถ้าหากถ้ากะบังลมหย่อนยาน หูรูดหลอดอาหารก็จะหย่อนยานไปด้วย และอาจทำให้กระเพาะอาหารส่วนบนโป่งขึ้นไป และดันไปในช่องทรวงอก ที่เรียกภาวะ Hiatus Hernia ซึ่งกรดในกระเพาะส่วนนั้นมีโอกาสเกิดการไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร และทำให้เกิด อาการแสบร้อนในทรวงอกหรือที่เรียกว่า Heartburn
กลุ่มที่พบการบาดเจ็บของหลอดอาหาร ได้แก่ reflux esophagitis , esophageal stricture, Barrett’s esophagus และ esophageal adenocarcinoma ซึ่งสามารถตรวจพบได้ โดยการส่องกล้องที่ใช้แสงสีขาวปกติ
ส่วนกลุ่มที่ไม่พบการบาดเจ็บของหลอดอาหารจากการส่องกล้องที่ใช้แสงสีขาวปกติ ( non erosive reflux disease ) โดยตรวจไม่พบรอยปริของเยื่อบุผิวหลอดอาหาร เมื่อส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
Sign & Sympthom
-
Heartburn (อาการแสบยอดอก)
-
Regurgitation (ขย้อนหรือสำรอก)
-
Water brash (น้ำลายสอ)
-
Chest pain (เจ็บหน้าอก)
-
Dysphagia (กลืนลำบาก)
-
Odynophagia (กลืนเจ็บ)
หมายเหตุ *Epigastric pain ไม่ถือเป็นอาการจำเพาะของ GERG ดังนั้น หากผู้ป่วยไม่มีอาการ epigastric pain อย่างเดียว ให้พิจารณาดูแลผู้ป่วยแบบ dyspepsia แทน
เกณฑ์การวินิจฉัย GERD ตาม Montreal International Consensus ประกอบไปด้วย
-
การวัดภาวะกรด (pH monitor)
-
การวัดค่าความต้านทาน (Impedance test)
-
การส่องกล้อง (endoscopy)
การวินิจฉัยภาวะกรดไหลย้อน
•ประวัติอาการแสบร้อนบริเวณยอดอก การใช้ยาประเภทแก้ปวดท้องหรือท้องเดินบ่อยๆ เพราะพวกนี้ทำให้หูรูดของหลอดอาหารหย่อนยาน
•การตรวจร่างกายพบอาการเจ็บหน้าอก ปวดแสบร้อนบริเวณทรวงถึงในปาก
•การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการทำ Barium Esophagography ให้กลืนสารทึบรังสีลงไปในกระเพาะ แล้วถ่ายภาพขณะที่สารทึบเคลือบหลอดอาหารและสารอยู่ในกระเพาะอาหาร
แนวทางการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย (2547)