Police Nursing College
วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
Pathophysiology Of Gastrointestinal System
For Student Nurses
ร.ต.อ.อภิสิทธิ์ ตามสัตย์
E-mail: log31643@yahoo.com
Gastritis
"กระเพาะอาหารอักเสบ"
สาเหตุของกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)
-
ความเครียดทางร่างกาย
-
พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การดื่มสุรา ชา กาแฟ ยาแก้ปวด การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
-
ภูมิต้านทานต่ำทำให้ดูแลสุขภาพตนเองไม่เพียงพอ
-
การติดเชื้อ เช่น เชื้อ Helicobacter pylori ซิฟิลิส วัณโรค
-
บุคลิกภาพแบบ เอ (Type A personality)
ชนิดของกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)
Acute gastritis
เป็นการอักเสบเยื่อบุกระเพาะอาหารแบบเฉียบพลัน ลักษณะที่พบได้คือ mucosa บวมแดง อาจจะมีจุดเลือดออก และอาจจะมีการหลุดลอกของ mucosa เป็นแผลตื้นๆ
สาเหตุที่พบบ่อยใน Acute gastritis
-
รับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น aspirin เป็นประจำ
-
ดื่มแอลกอฮอล์มากและเป็นประจำ
-
สูบบุหรี่มาก
-
การดื่มกรด-ด่าง
-
ได้รับ chemotherapy
-
การเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น Uremia, Systemic infection, Severe stress (burns, trauma, surgery), Ischemia and shock เป็นต้น
Chronic gastritis
การอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุ mucosa ร่วมกับมี mucosal atrophy และ epithelial metaplasia ทำให้มีอาการปวดท้องแน่นท้องเรื้อรัง (Dyspepsia) และมีโอกาสเกิด dysplasia และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
สาเหตุที่พบบ่อยใน Chronic gastritis
-
การติดเชื้อในกระเพาะอาหารเรื้อรัง โดยเฉพาะจาก H. pylori
-
ภาวะทางภูมิคุ้มกัน –มีantibody ทำลาย parietal cells เกิด gastric hypochlorhydria และ pernicious anemia
-
ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่มากเป็นประจำ
-
การผ่าตัด Postantrectomy ทำให้น้ำดีไหลย้อนจากลำไส้เล็กส่วนต้นมาระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร และจาก Radiation เป็นต้น
-
Environmental causes ได้แก่ H. pylori ซึ่งจะพบพยาธิสภาพที่ antrum หรือantrum และ corpus แต่ถ้าเป็นAutoimmune จะพบพยาธิสภาพที่ body-fundic mucosa
* ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่าง Helicobacter pylori กับการเกิด gastritis นั้นพบว่า จะมีเยื่อบุ mucosa แดง แบน หรือ หนาตัว ค่อนข้างไม่สม่ำเสมอ ลักษณะของอักเสบจะเป็นแบบเรื้อรังที่เยื่อบุ mucosa ร่วมกับมี atrophy และ metaplasia และพบ curved bacilli ใน gastric gland
Sign & Symptom
-
ปวดท้อง ปวดแสบบริเวณลิ้นปี่หรือยอดอก สัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวจัด หรือหลังตื่นนอนกลางดึก
-
เบื่ออาหาร (anorexia)
-
อาหารไม่ย่อย แสบร้อนในอก (heartburn) ภายหลังรับประทานอาหารและพบอาการเรอได้
-
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะตอนเช้าตรู่
การวินิจฉัย
-
ประวัติอาการปวดท้อง ไข้ ความเครียดทางร่างกายและจิตใจ การติดเชื้อในร่างกาย
-
ตรวจร่างกายพบ ท้องอืด แน่นท้อง และกดเจ็บบริเวณลิ้นปี่
ผลการตรวจ CBC พบเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น
-
การส่องกล้องเข้ากระเพาะอาหาร (Gastroscopy)
-
การถ่ายภาพรังสีหลังการกลืนแป้ง (GI series) เพื่อหาเงาภาพรังสีที่สะท้อนถึงรอยโรคในกระเพาะอาหาร
การรักษา
-
Total gastrectomy
-
Subtotal gastrectomy
-
Gastrojejunostomy : Billroth II
-
Vagotomy
• Truncal vagotomy
• Selective vagotomy
•Proximal gastric vagotomy