Police Nursing College
วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
Pathophysiology Of Gastrointestinal System
For Student Nurses
ร.ต.อ.อภิสิทธิ์ ตามสัตย์
E-mail: log31643@yahoo.com
Dysphasia
คือ ความลำบากในการกลืนอาหารและน้ำหรือยาซึ่งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่องปาก คอหอยและหลอดอาหาร
สาเหตุของ Dysphasia
อาจเกิดจากโครงสร้าง และหน้าที่การทำงานของช่องปาก คอหอย กล่องเสียง และหลอดอาหาร โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรืออาจเกิดได้จากเส้นประสาทที่ควบคุมเสียการกลืนสูญเสียการทำงาน โดยเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องคือ cranial nerves, trigeminal nerve, glossopharyngeal nerve, และ vagus nerve หรืออาจเกิดจาก Low saliva (sjogren's Syndrome) ซึ่งจะนำไปสู่การเกิด oropharyngeal dysphagia
และอาจเกิดได้จากความผิดปกติของสมองซึ่งเป็นผลมาจาก cerebrovascular accidents, myasthenia gravis, และ parkinsons โดยผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตันบริเวณส่วนที่ควบคุมการกลืนจึงทำให้ไม่สามารถกลืนอาหารได้ตามปกติและเกิดการสำลักเวลารับประทานอาหาร
ซึ่ง Richards & Edwards (2014) ได้สรุปสาเหตุของการเกิด Dysphasia ว่าเกิดจาก Neuromuscular disease, Cerebral vascular accident (CVA), และ Obstruction of the upper GI tract
Pathophysiology of Dysphagia
1. neuromuscular incoordination ทำให้อาหารและของเหลวไม่สามารถผ่านไปสู่หลอดอาหารได้ กลืนของเหลวลำบากกว่าของแข็ง และอาจสำลักเข้าปอดได้ (สิระยา สัมมาวาจ, 2552)
2. ความผิดปกติของ peristaltic activity ของหลอดอาหาร เช่น esophageal diverticular achalasia การตีบแคบ เนื้องอก ซึ่งทำให้กลืนของแข็งลำบากในช่วงแรก และต่อมามีการกลืนของเหลวลำบาก (สิระยา สัมมาวาจ, 2552)
3. ความผิดปกติของ low esophageal sphincter หรือมีการอุดตัน เช่น เนื้องอกบริเวณ mediastinum หลอดอาหารส่วนล่าง หรือรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร จนทำให้ ผู้ป่วยมีอาการแน่นบริเวณใต้ sternum ระหว่างการกลืน เนื่องจากการ reflux ของกรดน้ำย่อยของกระเพาะอาหารจนเกิดการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอาหาร (สิระยา สัมมาวาจ, 2552)
ผลกระทบที่เกิดจาก Dysphasia ทำให้เกิด